วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูกัดและได้รับพิษจากสัตว์ ( Practice Guideline forManagement of Patients with Snake Bite ) PDF [ Download ] *แก้ไขเพิ่ม link ใหม่


แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูกัดและได้รับพิษจากสัตว์

Practice Guideline for Management of Patients with Snake Bite

>> Download <<
หรือ https://drive.google.com/open?id=1J0I6P9S_6crCvEtx7VFU1jMDXzZFMD81


*แก้ไขเพิ่ม link ใหม่
     

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูกัดและได้รับพิษจากสัตว์
ปี พ.ศ. 2555

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีสัตว์พิษชุกชุม จึงมีผู้ป่วยได้รับพิษจากสัตว์ ทั้งจากการถูกกัดต่อย และ/หรือการรับประทาน
สัตว์พิษที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่

  1. งูพิษ แบ่งออกเป็น
          - งูที่มีพิษต่อระบบประสาท ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และ งูทับสมิงคลา ผู้ป่วยที่ถูกกัดจะเป็นอัมพาต และเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ
          - งูที่มีพิษต่อระบบเลือด ได้แก่ งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ ผู้ป่วยที่ถูกกัดจะมีภาวะเลือดออกผิดปกติ บางรายจะมีไตวาย และ กล้ามเนื้อตาย
          - งูที่มีพิษต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูทะเล
       2. ผึ้ง ตัวต่อ
          ในรายที่รุนแรง จะมีอาการหน้าบวม ช็อก หายใจลำบาก ไตวาย น้ำท่วมปอด
       3. แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือ
          จะมีอาการปวดบวม แดง ร้อน ในรายที่รุนแรง อาจเกิดสภาวะไตวายได้
       4. สัตว์อื่น ๆ ได้แก่
          - สัตว์ที่สร้างพิษ tetrodotoxin เช่น ปลาปักเป้า แมงดาถ้วย ฯลฯ ผู้ป่วยจะเป็นอัมพาต และหยุดหายใจ
          - สัตว์ที่สัมผัสแล้วจะมีอาการปวดบวม แดง ร้อน เช่น ปลาสิงโต บุ้ง แมลงก้นกระดก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น